17 ที่เที่ยวภาคเหนือ ตามรอยพ่อหลวง รัชกาลที่ 9
เข้าชม : 1

จังหวัดเชียงราย

1. โครงการพัฒนาดอยตุง

” โครงการในพระราชดำริ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
อนุรักษ์สืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีของ
ชาวไทยภูเขาและชาวไทย ภาคเหนือให้คงอยู่ ตลอดไป “
โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

จากแนวพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งอดีต ทำให้วันนี้โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

กลายมาเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เผยความงดงามทั้งทัศนียภาพ และวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบสาน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนแวะเวียนมาสูดอากาศบริสุทธิ์ ชมนานาพรรณไม้ที่งอกงาม และสัมผัสทัศนียภาพอันร่มรื่นสบายตาอย่างไม่ขาดสาย

 โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ


 

2. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง

” ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร
โดยเน้นการปลูกผักภายใต้โรงเรือนและลดการใช้สารเคมี “

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง
ขอบคุณภาพ http://www.thairoyalprojecttour.com/

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง ไม่เพียงเป็น แหล่งผลิตผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ตลอดจนมีระบบ อนุรักษ์ดินและน้ำที่ดีเพียงเท่านั้น บ้านผาตั้งยังกลาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในบทบาทชุมชนอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติแหล่งสำคัญของจังหวัดเชียงราย

 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง มีการปรับพื้นที่ ภายในศูนย์ฯ สำหรับวางแผนทดสอบและสาธิตวิธีการ ปลูกผักและไม้เมืองหนาว รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ได้แก่ กระต่าย แพะ ไก่กระดูกดำ และหมู เพื่อหล่อเลี้ยงชุมชน

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง

ห้ามพลาด

  • แปลงทดสอบการปลูกผักและ ไม้เมืองหนาว ชมพืชผักเมืองเหนือ บนแปลงดินกว่า 16 ชนิด
  • ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูง ดอยผาหม่น ชมดอกไม้เมืองหนาว อาทิ ทิวลิป และลิลลี่
  • ดอยผาตั้ง จุดชมวิวไทย-ลาว และจุดชมทะเลหมอก สูงจากระดับน้ำ ทะเล 1,800 เมตร
  • ชมวิถีชีวิตชุมชนในละแวก ใกล้เคียงของชาวเขาเผ่าม้ง ชาวจีนยูนนาน และเย้า
  • อุดหนุนผลิตผลจากโครงการและ งานหัตถกรรมชาวเขา

3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน และพืชน้ำมัน

” จากเมล็ดชาหน้าตาคล้ายเกาลัดที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ได้พระราชทาน ให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อศึกษาหาวิธีนำมาปลูกในไทยวันนี้
จึงเกิดศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันขึ้น เพื่อสานต่อพระราชดำริ “

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน และพืชน้ำมัน

ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 ปัจจุบันได้กลายเป็นอีกหนึ่งจุดหมายของนักท่องเที่ยว ที่สนใจในสุขภาพ เพราะที่นี่เป็นโรงงานผลิตน้ำมันจากเมล็ดชาและพืชน้ำมันอื่นๆ ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติกว่า 150 ไร่

จุดเด่นของศูนย์ฯ ที่ไม่ควรพลาด คือ ร้านอาหาร “เมล็ดชา” ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่นำเสนออาหารเหนือสไตล์โมเดิร์น และใช้น้ำมันชามาเป็นวัตถุดิบหลัก มี 2 เมนูพระราชทาน คือ โครเก็ตเบคอน แป้งขนมปังทอดไส้มันฝรั่งผสมหมูเบคอนบด และซุปมะเขือเทศ เปรี้ยวหวานกลมกล่อม สำหรับของหวานก็สร้างสรรค์ที่สุด ด้วยไอศกรีมอัญชันโยเกิร์ต ทุกจานขอการันตีว่ากินแล้ว รู้สึกดีกับมื้ออร่อยนี้อย่างแน่นอน

ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน และพืชน้ำมัน

ห้ามพลาด

  • นิทรรศการจัดแสดงความแตกต่างของชาน้ำมันและชาทั่วไป พร้อมบอกเล่าความเป็นมาของไร่ชาน้ำมัน
  • ร้านขายผลิตภัณฑ์ นอกจากน้ำมันต่างๆ ทั้งน้ำมันชา น้ำมันเมล็ดไนเจอร์ น้ำมันเมล็ดงาม้อน และน้ำมันมะรุมแล้ว ยังมีจำหน่ายเครื่องสำอางหลายชนิดที่ผลิตจากน้ำมันชาอีกด้วย
  • ชิมอาหารอร่อยสุขภาพดีที่เมล็ดชา ร้านอาหารริมน้ำสุดชิลล์ การันตีว่าทุกจานล้วนใช้น้ำมันชาในการประกอบอาหาร
  • จัดสาธิตกรรมวิธีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดชา

เชียงใหม่

1. พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

” ที่ประทับในโอกาส เสด็จพระราชดำเนิน แปรพระราชฐาน
และเพื่อรับรอง พระราชอาคันตุกะ “

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีทัศนียภาพสวยงามเสมือนจินตนาการที่เกิดขึ้นจริง สถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ อันวิจิตรตั้งตระหง่านเหนือมวลดอกไม้เมืองหนาวนานาพันธุ์ และมีอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ขึ้นบนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ เพื่อใช้เป็นที่ประทับในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน มาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อรับรองพระราชอาคันตุกะ

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์

ห้ามพลาด

  • พระตำหนักพฤกษาวิสุทธิคุณ ที่ประทับของสมเด็จย่า และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
  • พระตำหนักสิริส่องภูพิงค์ หรือพระตำหนักยูคาลิปตัส ที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
  • อ่างเก็บน้ำ/น้ำพุทิพย์ธาราของปวงชน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ภายในพระตำหนัก
 

2. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก

” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์
เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการสร้างศูนย์ฯ เพื่อเสริมความรู้ ทางเกษตรให้กับ ชาวบ้าน “

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก

จากที่เคยทำหน้าที่ศูนย์พัฒนาวิจัยพันธ์ุพืชแต่เพียงอย่างเดียว ณ ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ได้กลายเป็นอีกหนึ่งปลายทางยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว ที่แสวงหาความบริสุทธิ์ของธรรมชาติและความอบอุ่น ในการดูแลต้อนรับขับสู้ของชาวบ้านในท้องถิ่น

นอกจากป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ที่มีความลาดชันค่อนข้างสูง ทำให้เกิดวิวทิวทัศน์ที่ต้องตา ตรึงใจ เหมาะกับการพักผ่อนในช่วงวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลไหน

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก

ห้ามพลาด

  • วัดคันธาพฤกษา สถาปัตยกรรมแบบล้านนาโบราณ และโบสถ์ กลางน้ำแสนสวย
  • บ้านแม่กำปอง หมู่บ้านที่โด่งดังด้านโฮมสเตย์ ไปสัมผัสวิถีชีวิตและประเพณีพื้นบ้านได้อย่างใกล้ชิด
  • Flight of the Gibbon สนุกสุดเหวี่ยงไปกับซิปไลน์ 5 กม. ที่ขึ้นชื่อว่ายาวที่สุดในเอเซีย
  • จิบกาแฟเอสเพรสโซ่รสชาติดีเยี่ยมที่ร้านกาแฟของโครงการ
  • เดินป่าขึ้นลงน้ำตก 7 ชั้น ที่น้ำตกแม่กำปอง

3. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ

” เมื่อเผชิญปัญหา พื้นที่ราบมีน้อย ทั่วบริเวณล้วนเป็น เทือกเขา
ยากต่อการ เพาะปลูก นักวิชาการเกษตรของโครงการหลวงจึงต้องทำงานหนัก
เพื่อค้นหาทางแก้ไขปัญหาด้านพื้นที่ทำกินของม่อนเงาะ “

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ

เดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขา เผ่าม้ง ในพื้นที่เคยปลูกฝิ่นและชาวเขามีฐานะยากจน โครงการหลวงจึงเริ่มพัฒนาและส่งเสริมการปลูกผัก เนรมิตพื้นที่เทือกเขาแห้งแล้งให้กลับกลายเป็นอีกหนึ่งวิวงดงามให้ได้เยี่ยมชม

หลังจากได้รับการฟื้นฟูผืนป่าทำให้ดอยม่อนเงาะกลับมา เขียวชอุ่มและงดงามขึ้นอีกครั้ง กลายเป็นจุดท่องเที่ยวในฝันของนักท่องไพร ทางโครงการจัดเตรียมบ้านพักแสนสบายให้บริการ พร้อมร้านอาหารที่จัดเสิร์ฟอาหารพื้นเมืองคุณภาพดี แขกที่มาเยือนจะได้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรไปด้วยจากแปลงไม้ดอก และพืชผักต่างๆ รวมไปถึงไร่ชา ไร่กาแฟ ที่เรียงรายอย่างงดงาม

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ

ห้ามพลาด

  • หมู่บ้านเหล่าพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว สัมผัสวิถีชีวิตและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวพื้นเมือง
  • ไร่ชาสวนลุงเดช จิบชาพร้อมชมวิวสวย ที่เน้นปลูกชา และยังมีสวนเงาะ ส้ม มะขามให้เข้าชมด้วย
  • แปลงส่งเสริมไม้ดอก สารพันดอกไม้แปลกตาอย่าง ไม้ใบวานิลลา ซิมบิเดียม และกล้วยไม้นานาพรรณ
  • กางเต็นท์ค้างคืน และตื่นขึ้นมา ชมความงดงามยามพระอาทิตย์ขึ้นที่จุดชมวิวดอยม่อนเงาะ
 

4. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก

” เริ่มจากฎีกา ของชาวเขา ที่ขอพระราชทานผืนดิน
ทำกินกับพ่อหลวง กลายเป็นโครงการหลวง
ที่สร้างรายได้และ อาชีพเกษตรกรรม ที่ยั่งยืนให้กับชาวเขา ทุกคน “

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก

ชาวเขาเผ่าม้งได้อพยพหาที่ทำกินแห่งใหม่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้โครงการหลวงเข้าช่วยเหลือ ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับการบูรณะพื้นที่ทำกินบ้านห้วยลึก แม้จะใช้เวลานานในการปลูกป่าทดแทนและดูแลผืนป่า ในที่สุดพื้นที่ห้วยลึกก็กลับกลายเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่เต็มไปด้วยธรรมชาติสวยงาม เหมาะสมในการทำการเกษตร

โครงการหลวงห้วยลึก ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ 2 หมู่บ้าน ประกอบด้วย เผ่าม้ง กะเหรี่ยง และคนเมือง ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบ สลับกับหมู่ภูเขาที่ ทับซ้อนอย่างงดงาม และมีอากาศที่เย็น ทำให้เหมาะแก่การท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ และยังถูกจัดสรรเป็นพื้นที่สำหรับทำการเกษตรแบบยั่งยืน ที่ส่งเสริม วิจัยและ เพาะพันธุ์ให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขา มีทั้งสารพัน แปลงพืชเมืองหนาว

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก

ห้ามพลาด

  • พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ เจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยมแต่ละด้านมีแผ่นศิลาสลักลวดลายเรื่องราวพระประวัติ
  • ถ้ำเชียงดาว หินงอกหินย้อยตามธรรมชาติและมีธารน้ำสวยงามอยู่ทางหน้าถ้ำ
  • วัดถ้ำผาปล่อง สถานปฏิบัติธรรมเงียบสงบเข้าถึงธรรมชาติโดยรอบ
  • เข้าชมแปลงไม้ดอกของเกษตรกรอย่างใกล้ชิด
  • เลือกซื้อผลผลิตทางการเกษตร ที่สดใหม่และหาได้ยากในราคาย่อมเยา
 

5. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)

” ศูนย์ศึกษา วิจัยพันธุ์พืชและ ไม้ผลเมืองหนาว
เพื่อถ่ายทอด องค์ความรู้และเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร “

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) เป็นอีกหนึ่งจุดชมต้นนางพญาเสือโคร่ง หรือ‎ซากุระเมืองไทยแห่งสำคัญของเชียงใหม่ เพราะพื้นที่ ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 1,100 เมตร ทำให้นอกจากจะได้ชื่นชมกับดอกนางพญาเสือโคร่งที่ผลิดอกสวยงามเต็มที่แล้วยังได้สัมผัสกับอากาศเย็นสบายในช่วงฤดูหนาวอีกด้วย

ตั้งอยู่ ระหว่างหมู่บ้านปกาเกอะญอและหมู่บ้านม้ง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง อยู่ในวงล้อมของแนวเทือกเขาอินทนนท์ ตั้งขึ้นภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมาที่บ้านขุนวางในปี พ.ศ. 2523 พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นการปลูกฝิ่นจำนวนมากของชาวบ้าน ทรงมีพระราชดำรัสให้ปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ ให้เป็นสถานที่ทดลอง ขยายพันธุ์ ส่งเสริม และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพืชเมืองหนาวบนที่ราบสูงให้กับเกษตรกร ทดแทนการปลูกฝิ่น

ปัจจุบันภายในพื้นที่ของโครงการ คือแหล่งเพาะปลูกและวิจัยพืชพรรณและไม้ผลเมืองหนาว เช่น สาลี่ พลัม แมคคาเดเมีย เกาลัดจีน สตรอว์เบอร์รี เป็นต้น ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยอดนิยม เพราะมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)

ห้ามพลาด

  • จุดชมต้นนางพญาเสือโคร่ง ถนนสายซากุระเมืองไทยภายในพื้นที่ของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
  • ไร่กาแฟ ชมเมล็ดกาแฟอาราบิก้า สายพันธุ์คาติมอร์ สดๆ จากต้น
  • เดินชมแปลงทดลองการเกษตรภายในศูนย์
  • เก็บภาพสวยๆ กับดอกนางพญาเสือโคร่ง ที่หนึ่งปีจะบานให้เห็น แค่ครั้งเดียว
 

6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

” จากพระราชดำริ ที่ต้องการให้ศูนย์ฯ เป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์มีชีวิต
ที่ให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติได้จริง “

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จากเดิมที่เคยเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม กินพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 8,500 ไร่ จากวันนั้นมาถึงวันนี้ กว่า 34 ปีแล้ว ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ได้มุมานะทำการศึกษาวิจัย พัฒนารูปแบบระบบชลประทาน พัฒนาแหล่งน้ำ ควบคู่ไปกับการพัฒนาป่าไม้และฟื้นฟูผืนดิน

ในวันนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ได้รับการขนานนามว่าเป็น พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต หรือสวนเพื่อการศึกษา ทุกคน จะได้รับความรู้ เกี่ยวกับการพัฒนาผืนป่าที่เข้าใจง่าย แถมยังสัมผัสได้ ถึงจิตวิญญาณของป่าใหญ่ ด้วยการก้าวย่างเข้าสู่การเดินป่า ท่ามกลางลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ ทั้งหมู่ป่าเต็งรังเคียงข้าง กับป่าเบญจพรรณแสนงดงาม ตามเส้นทางที่จัดทำไว้ ปิดท้ายด้วยการเข้าชมวิถีฟาร์มสไตล์ภาคเหนือ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ห้ามพลาด

  • สวนหกศูนย์ ใจกลางของศูนย์พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต
  • วัดป่าศาลาปางสัก (วัดหลวงตา) ปฏิบัติธรรมตามแนวทางของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
  • โครงการพระราชดำริน้ำพุร้อนสันกำแพง ธารน้ำร้อน กว้าง ราว 2 เมตร ให้ได้แช่เท้าผ่อนคลายความเมื่อยล้า
  • ชมสาธิตการสร้างฝายไม้ไผ่ แบบง่ายๆ เพื่อเป็นองค์ความรู้ ในการใช้ชีวิตตามวิถีธรรมชาติ
  • แคมป์ปิ้งริมอ่างเก็บน้ำในอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้

7. สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

” ทรงพลิกฟื้น จากภูเขาฝิ่น จนกลายเป็นพืชผักเมืองหนาวที่สวยงาม
และ น่าเที่ยวที่สุด ของเมืองไทย “

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

เมื่อลมหนาวมาเยือน ภาพของดอกไม้ เมืองหนาวสีสวย รวมทั้งดอกซากุระเมืองไทยที่บานสะพรั่ง ที่ช่วยแต่งแต้มภูเขาสีเขียวให้สวยงาม รวมทั้งพืชผักผลไม้นานาชนิด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแม่เหล็กสำคัญที่ดึงดูดใจ นักท่องเที่ยวจำนวนมากให้มาเยือนดอยอ่างขางในแต่ละปี จนหลายคนอาจจะลืมไปแล้วว่า ที่นี่เคยเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่น ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย

สถานีเกษตรหลวงอ่างขางจึงเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นแปลงทดลอง ปลูกพืชผักเมืองหนาวคุณภาพดีแทนป่าฝิ่นดั้งเดิม สตรอว์เบอร์รี เป็นพืชพันธุ์ชนิดแรกๆ ที่นำมาทดลองปลูกที่นี่ จนได้พันธ์ุที่เหมาะสมกับเมืองไทย โดยใช้ชื่อว่า พันธุ์พระราชทาน

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ห้ามพลาด

  • สวนคำดอย
  • แหล่งรวบรวมดอกกุหลาบพันปีนำเข้า รวมทั้งดอกไม้เมืองหนาว
  • สวนหอม
  • แหล่งรวมพันธุ์ไม้หอม ทั้งในและต่างประเทศ
  • สวนสมเด็จ
  • แหล่งรวมซากุระ พันธุ์แท้จากญี่ปุ่น
  • ขี่จักรยาน / ดูนก
  • ขี่ล่อ ชมธรรมชาติ
  • เดินศึกษาธรรมชาติที่แปลงปลูกป่า

น่าน

1. ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

” ศูนย์ศึกษาวิจัย และถ่ายทอดความรู้ พัฒนาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ที่ยั่งยืนสู่จุดมุ่งหมาย คนอยู่ร่วมกับป่า “

ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนาจังหวัดน่าน เป็นหนึ่งสถานที่น่าแวะเวียนมาเที่ยวชมและเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านพื้นถิ่นอีกหนึ่งแห่งของจังหวัดน่าน

ที่นี่ใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้การพัฒนาไปสู่ราษฎรในพื้นที่เป้าหมายท้องที่อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ได้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี พร้อมประกอบอาชีพ อย่างเหมาะสมกับศักยภาพ ตลอดจนพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาธรรมชาติ และวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งสำคัญของจังหวัดน่าน

ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา

ห้ามพลาด

  • พระตำหนักภูฟ้า ยลโฉมที่ประทับของสมเด็จพระเทพฯ ในโอกาสเสด็จมาทรงงานที่ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา
  • เรือนเพาะชำกล้าไม้ ชมโรงเพาะกล้าไม้หายากและกล้าไม้พื้นถิ่นอาทิ ต๋าว มะแขว่น พญาไม้ชาอูหลง
  • อาคารแปรรูปชาอูหลง ชมและชิมชาอูหลงแบบสดๆ
  • ลัดเลาะเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ร้านค้าสวัสดิการของโครงการ
  • ชมการผลิตเกลือสินเธาว์บนแหล่งผลินบนที่ราบสูง (แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง)

2. สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง
ตามพระราชดำริ บ้านสะจุก-สะเกี้ยง

” มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเร่งฟื้นฟู สภาพป่าต้นน้ำบริเวณยอดดอยขุนน่าน
ให้มีความสมบูรณ์ ดังเดิม “

สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านสะจุก-สะเกี้ยง

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้สร้างโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อให้ความรู้เรื่องการทำนาแบบขั้นบันได เพื่อให้เหมาะกับภูมิประเทศ ทำให้เพิ่มผลผลิตและยังรายได้ที่มากขึ้นแก่ชาวบ้านและชาวเขาทุกคน

บรรยากาศอบอุ่นของการมาเยือนสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงบ้านสะจุก-สะเกี้ยง ก็คือภาพชาวบ้านยิ้มแย้มแจ่มใสอย่างมีความสุข เพราะสามารถทำผลผลิตได้มากขึ้น ทางโครงการฯ ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชผักเมืองหนาว ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น สตรอว์เบอร์รี, ต้นหม่อนและผักปลอดสารพิษ และยังแนะนำการทำปศุสัตว์ใน ครัวเรือน อย่าง การเลี้ยงหมู ไก่ เป็ด แกะ และแพะ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว อาจจะเดินทางลำบากสักนิด แต่ก็เป็นจุดหมายที่ทำให้ ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวเหนืออย่างแท้จริง

สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านสะจุก-สะเกี้ยง

ห้ามพลาด

  • ทะเลหมอก งดงามกลางหุบเขา มักจะเกิดขึ้นยามเช้ามืด เห็นได้เกือบทุกวัน
  • ชมนาขั้นบันได ไหล่เขาระหว่างการเดินทาง มีนาขั้นบันไดอวดโฉมอยู่เป็นระยะ
  • จุดชมวิวช่องเขาขาด ชมวิวหุบเขาที่กว้างใหญ่ไพศาล(ระหว่างทางก่อนถึงโครงการ)
  • เล่นกับแกะขนฟูแบบใกล้ชิดปราศจากรั้วกั้น
  • ชิมสตรอว์เบอร์รี ที่ปลูกโดยชาวบ้านในพื้นที่ เป็นผลผลิต ของโครงการ

พะเยา

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า

” ศูนย์พัฒนา โครงการหลวงปังค่า จัดตั้งขึ้น เพื่อสืบต่อ
การดูแลชาวเขาให้มี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน “

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า

เป็นโครงการหลวงหนึ่งเดียวในจังหวัดพะเยา เป็นโครงการพระราช ดำริ ที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่กว่า 2 หมื่นไร่ ภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาและภูเขาสูง รูปแบบการเกษตร จึงเป็นแบบเมืองหนาว มีแหล่งน้ำสำคัญคือ ลำน้ำแม่คะ และลำน้ำเงิน

ด้วยทัศนียภาพที่งดงามของบ้านปังค่า ซึ่งตั้งอยู่ภายในวนอุทยานแห่งชาติภูลังกา ทำให้ที่นี่ได้รับการขนานนามว่าเป็นกุ้ยหลินเมืองไทย และเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมา เฝ้าชมพระอาทิตย์ตกที่ลานหินล้านปี

อีกหนึ่งความโดดเด่นของโครงการหลวงปังค่า ก็คือ วิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าเมี่ยน ทางศูนย์ฯ มีการจัดแสดงวัฒนธรรม ศิลปะและงานหัตถกรรมชาวเขา สร้างสีสันที่น่าประทับใจให้กับทริปท่องเที่ยวอีกด้วย

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า

ห้ามพลาด

  • ภูเทวดาที่ยอดดอยภูลังกา นอกจากวิวภูเขา วิวพระอาทิตย์ขึ้นและตกท่ามกลางดอกไม้ป่าแสนงดงาม ยังสามารถมองเห็นลาวและสามเหลี่ยมทองคำได้อย่างชัดเจน
  • หมู่บ้านสิบสองพัฒนาและบ้านปางค่าเหนือ เยี่ยมชมและสัมผัสวิถีชีวิตของชนเผ่าม้ง
  • แปลงสาธิตการปลูกผักในโรงเรือน ชมแปลงผักเมืองเหนือ อาทิ มะเขือเทศโทมัส, เสาวรสหวาน, อะโวคาโด, แมคคาเดเมีย, มะม่วงนวลคำ และเคพกูสเบอร์รี
  • ชมทะเลหมอกมีหลากหลายจุด อาทิ บ้านปางมะโอ ดอยภูนม และดอยหัวลิง
  • ถ่ายภาพคู่กับทุ่งดอกเยอบีร่าและกุหลาบหลายสายพันธุ์
  • กางเต็นท์พักท่ามกลางธรรมชาติ ใจกลางวนอุทยานภูลังกา

พิษณุโลก

1. โครงการพัฒนาป่าไม้ตามพระราชดำริ ภูหินร่องกล้า

” แหล่งเรียนรู้การพัฒนาป่าไม้เพาะชำกล้าไม้หายากที่ควรอนุรักษ์
พันธุกรรมไว้เพื่อปลูกตามแนวพระราชดำริ “

โครงการพัฒนาป่าไม้ตามพระราชดำริ ภูหินร่องกล้า

ใครแวะเวียนมาสูดอากาศสดชื่นท่ามกลางภูเขาเขียวขจีสัมผัสอากาศเย็นสบายกันที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก ที่นี่ยังมีแหล่งเรียนรู้การพัฒนาป่าไม้และเพาะชำกล้าไม้หายาก อันเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

จัดตั้งขึ้นเพื่อการฟื้นฟูสภาพป่า เพาะชำกล้าไม้ และ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับราษฎร ที่โครงการฯยังมีแปลงปลูกกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า แปลงสาธิต การปลูกสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน ปลอดสารพิษ ซึ่งเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้อย่างใกล้ชิด

พื้นที่ในโครงการฯ มีแนวหินผาเป็นจุดชมวิวถึง 6 จุดสำคัญ ได้แก่ ผาไททานิค ผาพบรัก ผาบอกรัก ผาคู่รัก ผารักยืนยง และผาสลัดรัก สามารถยืนชมทิวทัศน์ผืนป่าเขียวชอุ่ม ไม่เพียงแค่ทุ่งดอกกระดาษและหน้าผาแห่งรักเท่านั้น ในช่วงฤดูหนาว ที่นี่ยังเป็นจุดชมดอกนางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระเมืองไทยผลิบานอีกหนึ่งจุดด้วย

โครงการพัฒนาป่าไม้ตามพระราชดำริ ภูหินร่องกล้า

ห้ามพลาด

  • ทุ่งดอกกระดาษหรือดอกบานไม่รู้โรย อันเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวสำคัญ ของอุทยานแห่งชาติภูหินร่องเกล้า
  • ลานหินปุ่ม ชมสัญลักษณ์ของภูหินร่องกล้า ที่ลานหินริหน้าผา
  • ผาชูธง จุดชมอาทิตย์ยามอัสดงที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย
  • เดินชมทุ่งดอกกระดาษที่ผาพบรักและต้นเมเปิลเปลี่ยนสี ที่โรงเรียนการเมือง ในช่วงฤดูหนาว
  • ลัดเลาะเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ลานหินปุ่ม-ผาชูธง-ซันแครก ระยะทางประมาณ 2,460 เมตร

2. สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ

” จากสมรภูมิรบ ในอดีต กลายเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวสำคัญ
และแหล่งเรียนรู้พันธุ์ไม้ ท้องถิ่นที่ใกล้สูญพันธุ์และหาชมได้ยาก ของเมืองไทย “

สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ

สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ เราสามารถมองเห็นดาวเต็มฟ้ายามค่ำคืน ตื่นเช้ามาพบสายหมอกลอยละล่องท่ามกลางขุนเขาเขียวขจี และพบกับจุดชมทิวทัศน์มุมกว้างที่งดงามแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก

ถูกจัดตั้งเป็นโครงการในพระราชดำริเพื่อพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดพิษณุโลก ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่ใกล้จะสูญพันธุ์และหาชมได้ยากเอาไว้มากมาย โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ต้นกุหลาบพันปีที่หาชมได้ยาก และต้นค้ออายุร้อยปี ที่มองเห็นได้จากจุดชมวิวค้อเดียวดาย

มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติใกล้เคียงได้อย่าง น้ำตกชาติตระการ น้ำตกภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว และอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย

สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ

ห้ามพลาด

  • จุดชมวิวค้อเดียวดาย จุดหมายที่ไม่ควรพลาด สำหรับการชมทะเลหมอกในฤดูฝน
  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติ จุดชมพันธ์ุไม้สวยงามและหิ่งห้อยยามค่ำคืน
  • ชมทิวทัศน์มุมกว้างของยอดดอยภูสอยดาวจากระยะไกล และทัศนียภาพครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเลย รวมถึงประเทศลาว ที่จุดชมวิวค้อเดียวดาย
  • ชมหิ่งห้อยยามค่ำคืนที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติภายในสวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้าฯ
  • ชมสวนกุหลาบหลากสายพันธุ์และกุหลาบพันปี ที่ขึ้นชื่อว่าหาชมยาก ตลอดจนพันธุ์ไม้นานาพรรณ
 

แม่ฮ่องสอน

1. ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตอง ตามพระราชดำริ

” แหล่งท่องเที่ยว ตามรอยพระบาท
ยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาและ ส่งเสริมอาชีพ “

ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตอง ตามพระราชดำริ

ชื่นชมสายหมอกยามเช้า ที่ป่าสนริม อ่างเก็บน้ำปางอุ๋ง คือกิจกรรมท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับต้นๆ ของคนที่ได้มาเยือนแม่ฮ่อนสอน ซึ่งปางอุ๋งนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตอง ตามพระราชดําริ แต่ที่นี่ไม่ได้มีดีแค่ปางอุ๋งเท่านั้น ปัจจุบันมีการขยายพื้นที่โดยแบ่งเป็น โครงการพระราชดำริปางตอง 1 2 3 และ 4 เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้บนพื้นที่สูง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามรอยพระบาทแห่งสำคัญ

ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตอง ตามพระราชดำริ

ห้ามพลาด

  • พระตำหนักปางตอง ชมเรือนประทับแรมไม้ 6 หลัง ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางแมกไม้บนไหล่เขา
  • สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าปางตอง ชมสัตว์ป่าหาดูยากกว่า 30 ชนิด เช่น เสือลายเมฆ หมีควาย ไก่ฟ้า นกยูง เป็นต้น
  • สถานีแปลงพันธุ์ไม้ดอก ชมเรือนเพาะชำต้นกล้าไม้เมืองหนาวหลากหลายสายพันธุ์
  • ลัดเลาะเนินเขา ข้ามลำธารขึ้นไปชมพระตำหนักปางตอง ที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม
  • ชมหิ่งห้อยยามค่ำคืนที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติภายในสวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้าฯ
  • ชมฝูงแกะและฝูงม้าที่ลานทุ่งหญ้ากว้าง แปลงผักปลอดสารพิษและผักพื้นเมือง
 

2. ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย
ตามพระราชดดำริ (ท่าโป่งแดง)

ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดดำริ (ท่าโป่งแดง)

” ลุ่มน้ำปาย คือจุดแรกที่กรมชลประทาน ใช้พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมของแม่ฮ่องสอน ตามโครงการ ในพระราชดำริ
เป็น ศูนย์เรียนรู้สู่การขยายผล เพื่อชุมชน คนและป่า “

โครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ณ ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายแห่งนี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ซึ่งทำหน้าที่ เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ เดินทางง่ายเพียงแค่ 10 นาทีจากตัวเมือง ก็จะได้สัมผัสธรรมชาติอากาศบริสุทธิ์ และ ยังเก็บเกี่ยวสารพันความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

เน้นการเรียนรู้ด้วยฐานต่างๆ 9 ฐาน ได้แก่ ด้านป่าไม้ การจัดการไฟป่า การจัดการน้ำดิน และปุ๋ย ข้าว พืช ประมง ปศุสัตว์ และการจัดการฟาร์ม นับเป็นอีกศูนย์การเรียนรู้ที่ให้ความรู้รอบด้านและ พร้อมสรรพอย่างแท้จริง

ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดดำริ (ท่าโป่งแดง)

ห้ามพลาด

  • เรือนประทับแรมโป่งแดง จุดพักผ่อนที่ตั้งอยู่ถัดจากเรือนเพาะปลูก มีวิวแม่น้ำปายไหลผ่าน และหมู่มวลดอกไม้ที่อย่า

     

     

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง